การดำเนินงานของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด
History of Roi-et Technical College
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมชื่อโรงเรียน “โรงเรียนประถมอาชีพ” ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2481 ในบริเวณโรงเรียนฝึกหัดครูมูล (เดิม) และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ถนนเทวาภิบาล อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ในบริเวณเนื้อที่ 37 ไร่
ปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างไม้ร้อยเอ็ด” เปิดทำการสอนเฉพาะ มัธยม อาชีวศึกษาตอนต้น แผนกช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี มีนักเรียนที่เข้าเรียนรุ่นแรก จำนวน 28 คน มี นายยงยุทธ นุกูลการเป็นครูใหญ่คนแรก กิจการของโรงเรียนได้เจริญตลอดมาโดยลำดับ ปี พ.ศ. 2495 ได้เปิดทำการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีแรกหลักสูตร 3 ปี
ปีการศึกษา 2495 ได้รับโอนโรงเรียนฝึกอาชีพช่างดัดผมเข้ามารวมอยู่ด้วย ในสังกัด
ปีการศึกษา 2502 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากช่างไม้ร้อยเอ็ด เป็นโรงเรียนการช่างร้อยเอ็ด
ปีการศึกษา 2503 ได้เปิดสอนชั้น “มัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง” หลักสูตร 3 ปี (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง)
ปีการศึกษา 2504 ได้เปิดสอนหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สายอาชีพ (มศ.1) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503
ปีการศึกษา 2506 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียนไม้สองชั้น 4 ห้องเรียน ตามแบบ 031ของกรมอาชีวศึกษา เป็นเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) และได้ใช้จ่ายเป็นค่าชดเชยแลกเปลี่ยน ที่ดินซึ่งเป็นที่ปลูก บ้านพักนายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) เพื่อนำมา สมทบปลูกสร้างบ้านพักนายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดแห่งใหม่ โดยได้รับอนุเคราะห์จากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด (นายสมาส อมาตยกุล) ในสมัยนั้น
ปีการศึกษา 2506 ได้ขอยกเลิกไม่รับนักเรียนกินอยู่ประจำ ได้ใช้หอพักนักเรียนประจำ ดัดแปลงเป็นอาคารเรียน
ปีการศึกษา 2508 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน เป็นเงิน 1,500,000 บาท(หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ได้ต่อเติมอาคารเรียนไม้สองชั้น แบบ 031 เพิ่มขึ้นอีก 4 ห้องเรียน
ปีการศึกษา 2508 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ม.ศ. 4-5-6) โดยใช้หลักสูตรร่วมกันกับสายสามัญศึกษา แต่แยกหลักสูตรสายอาชีพเป็นอีกส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้หันไปเรียน ระดับมหาวิทยาลัยได้ (เมื่อเรียนจบชั้น ม.ศ.5) ทำความสนใจให้กับนักเรียน และผู้ปกครองโดยทั่วไป เป็นเหตุให้เพิ่มนักเรียนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี
ปีการศึกษา 2514 ได้งบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียน โดยต่อเติมอาคารเรียนหลังเดิมจนเต็มรูปแบบ (มี 10 ห้องเรียน) ทาสี, ติดตั้งไฟฟ้า, ครบทุกห้องเรียน รวมเป็นเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
ปีการศึกษา 2515 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน ช่างเครื่องยนต์ และดีเซลตามรูปแบบของกรมอาชีวศึกษา เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงสองตอน โครงหลังคาเป็นเหล็กวงเงินประมาณ 287,500 บาท (สองแสนแปดหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 50,000 (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
ปีการศึกษา 2516 ได้เปิดสอนแผนกช่างยนต์และดีเซล ตามคำสั่งกรมฯ เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนรุ่นแรกในระดับ ม.ศ.ปลาย (ม.ศ. 4-5-6) ตามหลักสูตร 2508 มีนักเรียนรุ่นแรก จำนวน 30 คน และได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)
ปีการศึกษา 2517 โรงเรียนได้รวบรวมวัสดุฝึกของนักเรียน นำวัสดุฝึกประจำปีมาก่อสร้างบ้านพักครูตามแบบกรมอาชีวศึกษาขึ้น รวม 2 หลัง เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกงานและครูได้มีบ้านพักอาศัยโดยทั่วกัน
ปีการศึกษา 2518 ได้เปิดสอนแผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่น และได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 9 ห้องเรียน กว้าง 10.50 เมตร ยาว 36 เมตร จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ห้องพักครู 3 ห้อง ครุภัณฑ์ โต๊ะ ม้านั่งนักเรียน ห้องละ 35 ชุด รวมทั้งสิ้น 315 ชุด โต๊ะครู 27 ชุด พร้อมทั้งติดตั้งประปา เครื่องสูบน้ำ และระบบไฟฟ้าทาสีเรียบร้อย ในวงเงินประมาณ 1,440,000 บาท (ต่ำกว่างบประมาณ 60,000 บาท) ได้ก่อสร้างโรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ตามแบบกรมอาชีวศึกษาขนาด 14 x 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเป็นไม้ติดตั้งไฟฟ้าทาสีในวงเงิน 420,000 บาท
ปีการศึกษา 2519 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) สร้างรั้วคอนกรีต ทางด้านทิศตะวันตก ขนาด 2.70 x 120 เมตร ใช้เงินค่าวัสดุฝึกของนักเรียน สร้างบ้านพักครู 1 หลัง โดยได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ทำการรื้อถอนบ้านพักครูเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม จำนวน 5 หลัง และได้ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ โดย
- ถมสระน้ำหน้าอาคารเรียนไม้สองชั้น เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 80 เมตร
- ปรับปรุงถนนภายในบริเวณบ้านพักครูโดยเสริมดิน และถมดินลูกรังตลอดสาย
ในปีการศึกษา 2519 นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนการช่างร้อยเอ็ด ขึ้นเป็นวิทยาลัย อาชีวศึกษาร้อยเอ็ด (วิทยาเขต) และเปิดสอนในระดับ ปวส. แผนกช่างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2519 เป็นวันแรก มีนักศึกษารวม 30 คน โดยมี นางสาวอังกาบ วนรมย์ เป็นผู้อำนวยการ นายขวัญธนะ กระต่ายทองเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ (รับผิดชอบการบริหารงานภายในวิทยาเขต 1)
ปีการศึกษา 2520 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้าง โรงงานช่างก่อสร้าง แบบ กช. 301 1 หลัง เป็นเงิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) โดยตัดรายการไม่ทาสีไม่ติดตั้งไฟฟ้า ประปา ห้องเก็บของ ห้องพักครู ห้องเรียน ส่งมอบเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2521
- ใช้เงินหมวดค่าใช้สอย ปรับปรุงถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียน 3 ชั้น เป็นเงิน 200,000 บาท
- สร้างถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียน 1โดยใช้เงินหมวดค่าใช้สอย, เงินค่าวัสดุฝึก ประมาณ 34,000 บาท ขนาดถนน 7 x 80 เมตร ตลอดแนวหน้าอาคารเรียน 1
ปีการศึกษา 2521 ได้รับงบประมาณเป็นเงิน 1,300,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) สร้างโรงงานไฟฟ้ากำลัง 1 หลัง แบบ กช. 301 บริษัท แดนทองวิศวกรรม จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้รับเหมา ก่อสร้าง มอบงานเดือนพฤศจิกายน 2522
ปีงบประมาณ 2521 วิทยาลัยฯ ได้รับเงินจัดสรรเป็นค่าปรับปรุงไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงขนาด 250KVA ติดตั้งเสาคอนกรีตพร้อมดวงโคมแสงสว่าง ภายในบริเวณวิทยาลัย (วิทยาเขต 1) ในวงเงิน 327,000 บาท (โดยการไฟฟ้าจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ดำเนินการ)
ปีการศึกษา 2522 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอน แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังและแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้อาคารเรียน 2 ชั้นที่ 3 เป็นโรงฝึกงานของ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว
ปีการศึกษา 2523 ได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษา ให้แยกตัวออกมาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาเขต1ยกฐานะขึ้นเป็น“วิทยาลัย”ชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดโดยมี นายเอนก จูจันทร์ เป็น ผู้อำนวยการ เปิดสอนแผนกช่างกลโรงงาน ระดับ ปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ) เพิ่มขึ้นอีก 1 แผนกได้รับเงินงบประมาณหมวดค่าก่อสร้าง สร้างโรงงานช่างกลโรงงานแบบจั่วแฝด 1 หลัง แบบ กช.301 ในวงเงิน 1,670,000 บาท เปิดซองประกวดราคา เมื่อ 5 เมษายน 2523 การก่อสร้างแล้วเสร็จในปีเดียวกัน
นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 เป็นต้นมา วิทยาลัยได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ สร้างถนน ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้สมบูรณ์ต่อไป
ปีการศึกษา 2524 วิทยาลัยฯ ได้ก่อสร้างโรงงานช่างปูน โดยใช้วัสดุฝึกของนักเรียน
- ได้ปรับปรุง เครื่องมือ เครื่องจักร ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้
- กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตร ปวช. ปวส. 2524
ปีการศึกษา 2525 วิทยาลัยฯ ได้ก่อสร้างบ้านพักครูโสด จำนวน 3 หน่วย ได้ใช้วัสดุฝึกงานของ นักเรียนในการก่อสร้างเป็นการฝึกให้นักเรียนนักศึกษาได้หาประสบการณ์จริง
ปีการศึกษา 2526 วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาและปรับปรุงสถานศึกษาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
- กรมอาชีวศึกษา ได้พิจารณาแต่งตั้งผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา อีก 2 ตำแหน่ง รวม 3 ตำแหน่ง
- สร้างบ้านพักครูโสดอีก 3 หน่วย แต่ละหน่วยครูโสดพักได้ 3 คน โดยใช้เงินค่าวัสดุฝึกและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ประมาณ 200,000 บาท
- ต่อเติมโรงอาหารโดยมีห้องขายอาหาร จำนวน 4 ห้อง คิดเป็นราคาผลิตผลสำเร็จรูป 34,061 บาท
- สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 x 90 เมตร ราคาประมาณ 140,000 บาท
- สร้างห้องน้ำ – ส้วม ห้องปัสสาวะ ที่ล้างมือ อย่างละ 4 หน่วย
- สร้างห้องพักครูโรงงานช่างก่อสร้าง ขนาด 5.50 x 8 เมตร ราคาประมาณ 52,000 บาท
- ปรับปรุงชั้นเรียนแผนกช่างยนต์ ขนาด 96 ม. ราคาประมาณ 90,000 บาท
- เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก โรงปูน 960 ม2 ราคาประมาณ 30,050 บาท
- ปรับปรุงห้องเรียน ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง ประมาณ 250 ม.
- สร้างบ้านพักผู้ช่วยผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง โดยใช้วัสดุอุปกรณ์บางส่วนจากอาคารหอพักที่รื้อลงในที่ก่อสร้าง
- วิทยาลัยได้รับงบประมาณสร้างตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 9 x 54 เมตร เป็นเงิน 2,400,000 บาท (สองล้านสี่แสนบาทถ้วน) วิทยาลัยออกเงินสมทบอีก 500,000 บาท รวมเป็นค่าก่อสร้าง 2,900,000 บาท (สองล้านเก้าแสนบาทถ้วน) เพื่อใช้เป็นอาคารช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปีการศึกษา 2527 แผนกได้ย้ายไปเรียนที่ตึกสร้างใหม่แล้ว
ปีการศึกษา 2527 วิทยาลัยมีอัตรากำลังทั้งหมด 74 อัตรา และยังมีอัตราว่างอีก 8 อัตรา วิทยาลัยยังต้องพัฒนาทั้งอาคารเรียน
- สถานที่ บุคลากรเพื่อที่จะเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีความสามารถ เป็นกำลังของชาติสืบไป
- กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตร ปวส. 2527
ปีการศึกษา 2529 วิทยาลัยได้งบประมาณการก่อสร้างบ้านพักครู 5 ยูนิต จำนวน 1 หลังรวมเป็นเงิน 500,000 บาท
ปีการศึกษา 2530
- วิทยาลัยมีอัตรากำลังทั้งหมด 82 อัตรา
- วิทยาลัยได้รับอนุมัติจากกรมฯ ให้เปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์อีก 1 ห้อง มีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 42 คน
- กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตร ปวช. 2530
- แบบ กช. 301 ก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานแผนกช่างเชื่อมและโลหะแผ่น จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 1,800,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิศวกรรมเป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง ส่ง 11 พฤษภาคม 2530
- ก่อสร้างโรงฝึกงานแผนกช่างเทคนิคพื้นฐาน ด้วยเงินงบประมาณหมวดค่าวัสดุ
- ต่อเติมห้องเรียนอาคารเรียน 2 ชั้น 4 เป็นห้องเรียนชั่วคราว หลังคากระเบื้องโครงเหล็ก ใช้เป็นห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ 1 ห้อง และห้องปฏิบัติการเขียนแบบ 1 ห้อง โดยใช้เงินงบประมาณหมวดค่าวัสดุ 300,000 บาท
- ก่อสร้างอาคารเทิดพระเกียรติในโอกาสฉลองครบรอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยใช้เงินงบประมาณหมวดค่าวัสดุ และเงินบกศ. ของวิทยาลัย เป็นเงิน 350,000 บาท
ปีการศึกษา 2531
- วิทยาลัยมีอัตรากำลังทั้งหมด 87 อัตรา
- ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น จำนวน 9 ห้องเรียน ตามแบบ กช. 906 เป็นเงิน 2,790,000 บาท
- ได้งบประมาณปรับปรุงสนามฟุตบอล เป็นเงิน 210,000 บาท
ปีการศึกษา 2532
- ได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 9 x 54 เมตร แบบ กช. 008 ค่าก่อสร้าง 6,300,000 บาท เป็นเงินงบประมาณ 5,000,000 บาท และใช้เงิน บกศ.สมทบอีก 1,300,000 บาท (ผูกพันงบประมาณปี 2532-2533) โดยปลูกสร้างแทนอาคารไม้หลังเดิม เนื่องจากการเก็บเงินบำรุงการศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี (ผู้อำนวยการประกอบ จันทรเพ็ญ) ให้ยืมเงินบำรุงการศึกษาสมทบเป็นเงิน 500,000 บาท
- รื้ออาคารไม้ 2 ชั้น หลังเดิมนำไปปลูกเป็นแฟลตบ้านพักครู 13 หน่วย ก่อสร้างโดย นักเรียน นักศึกษา แผนกช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ปลูกบริเวณหลังช่างอิเล็กทรอนิกส์
- ได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษา โดยกองวิทยาลัยเทคนิค ให้เปิดสอนช่างฝึกหัดอาชีวเทคนิคเพื่อพัฒนาชนบท (เทคโนโลยีหมู่บ้าน) โดยรับผู้สำเร็จ ม.3 หรือ เทียบเท่าที่อยู่ห่างไกลหมู่บ้านเป็น เป้าหมาย (กชช-2 ค) เข้ามาเรียนเป็นนักเรียนตามหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน จำนวน 8 คน อายุ 15-20 ปี เรียน 4 วิชา ได้แก่ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ และช่างเชื่อม ใช้เวลาเรียน 1 ปีการศึกษา โดยได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนเดือนละ 300 บาท(ปีละ 3,600 บาท) และค่าชุดฝึกงาน คนละ 2 ชุด 700 บาท เริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 1/2532
- ได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษา ให้เปิดสอนแผนกเครื่องประดับอัญมณีขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น รับนักศึกษารุ่นแรก ในภาคเรียนที่ 2/2532 จำนวน 16 คน เป็นชาย 14 คน หญิง 2 คน สถานที่เรียนใช้อาคารชั่วคราวข้างห้องสมุด และพื้นที่ชั้นบนของแผนกเทคนิคพื้นฐาน เป็นที่เรียนเป็นการ ชั่วคราว จนกว่าจะได้ก่อสร้างอาคารเรียนเอกเทศในปีงบประมาณ 2534 ซึ่งกลุ่มได้จัดสรรงบประมาณให้แล้ว จำนวน 1.5 ล้านบาท ครูผู้สอนประกอบด้วย นายสุพจน์ รัตนเกษตรสิน (หัวหน้าแผนก) และ นายสมบูรณ์ แซ่หว่อง (หัวหน้าคณะวิชา) ทั้งสองได้ผ่านการฝึกอบรมจากวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคตราด
ปีการศึกษา 2533
- ได้รับงบประมาณการก่อสร้างโรงอาหาร และหอประชุม พื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,600 ตารางเมตร ตามแบบ อ.001 เป็นเงิน 7,031,595 บาท เป็นเงินงบประมาณปี 2533 จำนวน 2,500,000 บาท ผูกพันงบประมาณปี 2534 จำนวน 4,470,000 บาท (ซึ่งได้รับการแปรญัตติปี 34) เงินบำรุงการศึกษาสมทบ 61,595 บาท
- ทำการรื้อถอนอาคารไม้ 3 หลัง เป็นอาคารจั่วทรงฟันเลื่อย อีกหลังหนึ่งเป็นอาคารไม้จั่ว 2 ชั้น เพื่อทำการก่อสร้างโรงอาหารและหอประชุม ตามที่ได้รับงบประมาณดังกล่าว
ปีการศึกษา 2534
- ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอัญมณี 2,460,000 บาท - ได้รับงบประมาณครุภัณฑ์ 2,807,000 บาท
ปีการศึกษา 2535
- มีอัตรากำลัง 80 อัตรา
- ได้รับงบประมาณสร้างอาคารปฏิบัติการแผนกช่างไฟฟ้า จำนวน 6,912,000 บาท
- ได้รับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ ดังนี้
แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ 1,316,000 บาท
แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง 300,000 บาท
แผนกช่างกลโรงงาน 930,000 บาท
ปีการศึกษา 2536 ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอนในระดับ ปวส. 4 สาขาวิชา ดังนี้
-
-
-
สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง
-
สาขาวิชาช่างยนต์
-
สาขาวิชาเทคนิคการผลิต
-
สาขาวิชาเทคนิคโลหะ
-
-
ระดับ ปวท. 1 สาขาวิชา
-
-
-
สาขาเทคนิควิศวกรรมคอมพิวเตอร์
-
-
ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษาได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษาเขตการศึกษา 10 วิทยาลัย ได้รับรางวัลดังนี้
-
-
-
รางวัลสถานศึกษาพระราชทาน รางวัลสถานศึกษาดีเด่น ของกรมอาชีวศึกษา
-
-
ปีการศึกษา 2537 ได้รับรางวัลการจัดกิจกรรมองค์การ (อชท.) ดีเด่น ได้มาตรฐานอันดับ1 ของกลุ่มอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับโล่เกียรติยศ และได้เปิดสอนหลักสูตร และระดับการศึกษาเหมือนปีการศึกษา 2536
ปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดทำการสอน หลักสูตรช่างอุตสาหกรรม ระดับ ปวช. 6 สาขาวิชา (ช่างก่อสร้าง, ช่างเชื่อมโลหะ, ช่างกลโรงงาน, ช่างยนต์, ช่างไฟฟ้ากำลัง, ช่างอิเล็กทรอนิกส์) และเปิดสอนระดับ ปวส. 9 สาขา (เทคนิคยานยนต์, แม่พิมพ์โลหะ, เครื่องมือกล, เทคนิควิศวกรรมการเชื่อม, เครื่องกลไฟฟ้าติดตั้งและควบคุมไฟฟ้า, เทคนิคระบบสื่อสาร, เทคนิคคอมพิวเตอร์, ก่อสร้าง) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ได้เปิดสอน 1 สาขา คือ เทคนิควิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ปีการศึกษา 2539 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดทำการสอนในหลักสูตร และระดับการศึกษาเหมือนปีการศึกษา 2538 และเนื่องจากในปีการศึกษา 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้นำนโยบายปฏิรูปการศึกษาและบัญญัติ 10 ประการมาใช้ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จึงมีแผนงานและโครงการที่สนองแนวนโยบาย ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนโดยมีคุณภาพงานทุก ๆ ด้าน
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ดำเนินการสอนระดับ ปวช. หลักสูตรทวิภาคี (ร่วมกับภาคเอกชนจัดการศึกษา) ให้กว้างขวางขึ้นจากที่เคยจัดเฉพาะสาขาวิชาชีพช่างยนต์(ปีการศึกษา2538)ให้แพร่หลายออกไป
ปีการศึกษา 2540
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรับนักศึกษาที่จบจาก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เพื่อศึกษาต่อในสาขาดังนี้
-
-
-
-
สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม
-
สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์
-
-
-
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ดังนี้
- ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ร่องระบายน้ำ เป็นเงิน 800,000 บาท
- ได้รับงบประมาณหมวดครุภัณฑ์ เป็นเงิน 16,971,840 บาท
ปีการศึกษา 2541 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ดังนี้
-
-
-
ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงระบบประปาภายในวิทยาลัย เป็นเงิน 1,900,000 บาท
-
ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ เป็นเงิน 3,030,000 บาท
-
-
ปีการศึกษา 2542 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรับนักศึกษาที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขางาน ดังนี้
-
-
-
สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า สาขางานเครื่องมือกล
-
-
ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ เป็นเงิน 2,590,000 บาท
ปีการศึกษา 2543 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดไม่รับนักศึกษาระดับ ปวช. แผนกวิชาช่างไฟฟ้า และได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรับนักศึกษาที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขางานเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ดังนี้
-
-
-
สาขางานติดตั้งและควบคุมไฟฟ้า
-
สาขางานเทคนิคยานยนต์
-
สาขางานเทคนิควิศวกรรมงานเชื่อม
-
-
ปีการศึกษา 2544 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดทำการสอนในระดับ ปวช. เพิ่มอีก 1 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม รวมเป็น 7 แผนก แผนกวิชาละ 2 ห้องเรียน และเปิดรับนักศึกษาระบบทวิภาคี ในแผนกวิชาช่างกลโรงงานอีก 1 ห้องเรียน วิทยาลัย ฯ ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส.) ในสาขางานที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ดังนี้
-
-
-
สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (ปวช.)
-
สาขาเทคนิคก่อสร้าง (ม.6)
-
สาขางานเครื่องกลอุตสาหกรรม (ม.6)
-
สาขาวิชาช่างโยธา (ม.6)
-
-
ปีการศึกษา 2545 กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2545 ส่วนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ยังคงใช้หลักสูตร 2540 วิทยาลัยฯ ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วดังนี้
-
-
-
สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางานเครื่องมือกล ระดับชั้น ปวช. (ระบบทวิภาคี)
-
แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้น ปวส. สาขาวิชางานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
-
-