ความเป็นมาของวิทยาลัย

การดำเนินงานของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

History of Roi-et Technical College

          วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมชื่อโรงเรียน “โรงเรียนประถมอาชีพ” ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2481 ในบริเวณโรงเรียนฝึกหัดครูมูล (เดิม) และเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดในปัจจุบัน ถนนเทวาภิบาล อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ในบริเวณเนื้อที่ 37 ไร่

          ปี พ.ศ. 2482 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างไม้ร้อยเอ็ด” เปิดทำการสอนเฉพาะ มัธยม อาชีวศึกษาตอนต้น แผนกช่างไม้ หลักสูตร 3 ปี มีนักเรียนที่เข้าเรียนรุ่นแรก จำนวน 28 คน มี นายยงยุทธ นุกูลการเป็นครูใหญ่คนแรก กิจการของโรงเรียนได้เจริญตลอดมาโดยลำดับ ปี พ.ศ. 2495 ได้เปิดทำการสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีแรกหลักสูตร 3 ปี

          ปีการศึกษา 2495 ได้รับโอนโรงเรียนฝึกอาชีพช่างดัดผมเข้ามารวมอยู่ด้วย ในสังกัด

          ปีการศึกษา 2502 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากช่างไม้ร้อยเอ็ด เป็นโรงเรียนการช่างร้อยเอ็ด

          ปีการศึกษา 2503 ได้เปิดสอนชั้น “มัธยมอาชีวศึกษาชั้นสูง” หลักสูตร 3 ปี (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง)

          ปีการศึกษา 2504 ได้เปิดสอนหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สายอาชีพ (มศ.1) ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503

          ปีการศึกษา 2506 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียนไม้สองชั้น 4 ห้องเรียน ตามแบบ 031ของกรมอาชีวศึกษา เป็นเงิน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) และได้ใช้จ่ายเป็นค่าชดเชยแลกเปลี่ยน ที่ดินซึ่งเป็นที่ปลูก บ้านพักนายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดเป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน) เพื่อนำมา สมทบปลูกสร้างบ้านพักนายอำเภอเมืองร้อยเอ็ดแห่งใหม่ โดยได้รับอนุเคราะห์จากผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด (นายสมาส อมาตยกุล) ในสมัยนั้น

          ปีการศึกษา 2506 ได้ขอยกเลิกไม่รับนักเรียนกินอยู่ประจำ ได้ใช้หอพักนักเรียนประจำ ดัดแปลงเป็นอาคารเรียน

          ปีการศึกษา 2508 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน เป็นเงิน 1,500,000 บาท(หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ได้ต่อเติมอาคารเรียนไม้สองชั้น แบบ 031 เพิ่มขึ้นอีก 4 ห้องเรียน

          ปีการศึกษา 2508 ได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอน เป็นหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ (ม.ศ. 4-5-6) โดยใช้หลักสูตรร่วมกันกับสายสามัญศึกษา แต่แยกหลักสูตรสายอาชีพเป็นอีกส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้หันไปเรียน ระดับมหาวิทยาลัยได้ (เมื่อเรียนจบชั้น ม.ศ.5) ทำความสนใจให้กับนักเรียน และผู้ปกครองโดยทั่วไป เป็นเหตุให้เพิ่มนักเรียนมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี

          ปีการศึกษา 2514 ได้งบประมาณค่าก่อสร้างอาคารเรียน โดยต่อเติมอาคารเรียนหลังเดิมจนเต็มรูปแบบ (มี 10 ห้องเรียน) ทาสี, ติดตั้งไฟฟ้า, ครบทุกห้องเรียน รวมเป็นเงิน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) และในปีเดียวกันได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

          ปีการศึกษา 2515 ได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน ช่างเครื่องยนต์ และดีเซลตามรูปแบบของกรมอาชีวศึกษา เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาแบบเพิงสองตอน โครงหลังคาเป็นเหล็กวงเงินประมาณ 287,500 บาท (สองแสนแปดหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง            เป็นเงิน 50,000 (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

          ปีการศึกษา 2516 ได้เปิดสอนแผนกช่างยนต์และดีเซล ตามคำสั่งกรมฯ เปิดรับนักเรียนเข้าเรียนรุ่นแรกในระดับ ม.ศ.ปลาย (ม.ศ. 4-5-6) ตามหลักสูตร 2508 มีนักเรียนรุ่นแรก จำนวน 30 คน และได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

          ปีการศึกษา 2517 โรงเรียนได้รวบรวมวัสดุฝึกของนักเรียน นำวัสดุฝึกประจำปีมาก่อสร้างบ้านพักครูตามแบบกรมอาชีวศึกษาขึ้น รวม 2 หลัง เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกงานและครูได้มีบ้านพักอาศัยโดยทั่วกัน

          ปีการศึกษา 2518 ได้เปิดสอนแผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่น และได้รับงบประมาณเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 9 ห้องเรียน กว้าง 10.50 เมตร ยาว 36 เมตร จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน) ห้องพักครู 3 ห้อง ครุภัณฑ์ โต๊ะ ม้านั่งนักเรียน   ห้องละ 35 ชุด รวมทั้งสิ้น 315 ชุด โต๊ะครู 27 ชุด พร้อมทั้งติดตั้งประปา เครื่องสูบน้ำ และระบบไฟฟ้าทาสีเรียบร้อย ในวงเงินประมาณ 1,440,000 บาท (ต่ำกว่างบประมาณ 60,000 บาท) ได้ก่อสร้างโรงฝึกงานช่างเชื่อมและโลหะแผ่น ตามแบบกรมอาชีวศึกษาขนาด 14 x 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงหลังคาเป็นไม้ติดตั้งไฟฟ้าทาสีในวงเงิน 420,000 บาท

          ปีการศึกษา 2519 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้างบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาทถ้วน) สร้างรั้วคอนกรีต ทางด้านทิศตะวันตก ขนาด 2.70 x 120 เมตร ใช้เงินค่าวัสดุฝึกของนักเรียน สร้างบ้านพักครู 1 หลัง โดยได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ ให้ทำการรื้อถอนบ้านพักครูเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม จำนวน 5 หลัง และได้ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ โดย

          -  ถมสระน้ำหน้าอาคารเรียนไม้สองชั้น เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 7 เมตร ยาว 80 เมตร

          -  ปรับปรุงถนนภายในบริเวณบ้านพักครูโดยเสริมดิน และถมดินลูกรังตลอดสาย

          ในปีการศึกษา 2519 นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนการช่างร้อยเอ็ด ขึ้นเป็นวิทยาลัย อาชีวศึกษาร้อยเอ็ด (วิทยาเขต) และเปิดสอนในระดับ ปวส. แผนกช่างก่อสร้าง เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2519  เป็นวันแรก มีนักศึกษารวม 30 คน โดยมี นางสาวอังกาบ วนรมย์ เป็นผู้อำนวยการ นายขวัญธนะ กระต่ายทองเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ (รับผิดชอบการบริหารงานภายในวิทยาเขต 1)

          ปีการศึกษา 2520 ได้รับงบประมาณค่าก่อสร้าง โรงงานช่างก่อสร้าง แบบ กช. 301 1 หลัง เป็นเงิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) โดยตัดรายการไม่ทาสีไม่ติดตั้งไฟฟ้า ประปา ห้องเก็บของ ห้องพักครู ห้องเรียน ส่งมอบเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2521

          -  ใช้เงินหมวดค่าใช้สอย ปรับปรุงถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียน 3 ชั้น เป็นเงิน 200,000 บาท

          -  สร้างถนนคอนกรีตหน้าอาคารเรียน 1โดยใช้เงินหมวดค่าใช้สอย, เงินค่าวัสดุฝึก ประมาณ 34,000 บาท ขนาดถนน 7 x 80 เมตร ตลอดแนวหน้าอาคารเรียน 1

          ปีการศึกษา 2521 ได้รับงบประมาณเป็นเงิน 1,300,000  บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน) สร้างโรงงานไฟฟ้ากำลัง 1 หลัง แบบ กช. 301 บริษัท แดนทองวิศวกรรม จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้รับเหมา  ก่อสร้าง มอบงานเดือนพฤศจิกายน 2522

          ปีงบประมาณ 2521 วิทยาลัยฯ ได้รับเงินจัดสรรเป็นค่าปรับปรุงไฟฟ้า ติดตั้งหม้อแปลงขนาด 250KVA ติดตั้งเสาคอนกรีตพร้อมดวงโคมแสงสว่าง ภายในบริเวณวิทยาลัย (วิทยาเขต 1) ในวงเงิน 327,000 บาท (โดยการไฟฟ้าจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้ดำเนินการ)

          ปีการศึกษา 2522 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอน แผนกวิชาช่างไฟฟ้ากำลังและแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้อาคารเรียน 2 ชั้นที่ 3 เป็นโรงฝึกงานของ ช่างอิเล็กทรอนิกส์ชั่วคราว

          ปีการศึกษา 2523 ได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษา ให้แยกตัวออกมาจากวิทยาลัยอาชีวศึกษา              วิทยาเขต1ยกฐานะขึ้นเป็น“วิทยาลัย”ชื่อว่า  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดโดยมี นายเอนก จูจันทร์ เป็น ผู้อำนวยการ เปิดสอนแผนกช่างกลโรงงาน ระดับ ปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ) เพิ่มขึ้นอีก 1 แผนกได้รับเงินงบประมาณหมวดค่าก่อสร้าง สร้างโรงงานช่างกลโรงงานแบบจั่วแฝด 1 หลัง แบบ กช.301 ในวงเงิน 1,670,000 บาท เปิดซองประกวดราคา เมื่อ 5 เมษายน 2523 การก่อสร้างแล้วเสร็จในปีเดียวกัน

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2523 เป็นต้นมา วิทยาลัยได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ สร้างถนน ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ ที่ยังไม่แล้วเสร็จให้สมบูรณ์ต่อไป

          ปีการศึกษา 2524 วิทยาลัยฯ ได้ก่อสร้างโรงงานช่างปูน โดยใช้วัสดุฝึกของนักเรียน

- ได้ปรับปรุง เครื่องมือ เครื่องจักร ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้

- กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตร ปวช. ปวส. 2524

          ปีการศึกษา 2525 วิทยาลัยฯ ได้ก่อสร้างบ้านพักครูโสด จำนวน 3 หน่วย ได้ใช้วัสดุฝึกงานของ นักเรียนในการก่อสร้างเป็นการฝึกให้นักเรียนนักศึกษาได้หาประสบการณ์จริง

          ปีการศึกษา 2526 วิทยาลัยฯ ได้พัฒนาและปรับปรุงสถานศึกษาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

          - กรมอาชีวศึกษา ได้พิจารณาแต่งตั้งผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษา อีก 2 ตำแหน่ง รวม 3 ตำแหน่ง

          - สร้างบ้านพักครูโสดอีก 3 หน่วย แต่ละหน่วยครูโสดพักได้ 3 คน โดยใช้เงินค่าวัสดุฝึกและ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ประมาณ 200,000 บาท

          -  ต่อเติมโรงอาหารโดยมีห้องขายอาหาร จำนวน 4 ห้อง คิดเป็นราคาผลิตผลสำเร็จรูป 34,061 บาท

          -  สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 4 x 90 เมตร ราคาประมาณ 140,000 บาท

          -  สร้างห้องน้ำ – ส้วม ห้องปัสสาวะ ที่ล้างมือ อย่างละ 4 หน่วย

          -  สร้างห้องพักครูโรงงานช่างก่อสร้าง ขนาด 5.50 x 8 เมตร ราคาประมาณ 52,000 บาท

- ปรับปรุงชั้นเรียนแผนกช่างยนต์ ขนาด 96 ม. ราคาประมาณ 90,000 บาท

          -  เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก โรงปูน 960 ม2 ราคาประมาณ 30,050 บาท

          - ปรับปรุงห้องเรียน ห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง ประมาณ 250 ม.

          - สร้างบ้านพักผู้ช่วยผู้อำนวยการ จำนวน 1 หลัง โดยใช้วัสดุอุปกรณ์บางส่วนจากอาคารหอพักที่รื้อลงในที่ก่อสร้าง

         - วิทยาลัยได้รับงบประมาณสร้างตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น ขนาด 9 x 54 เมตร เป็นเงิน 2,400,000 บาท (สองล้านสี่แสนบาทถ้วน) วิทยาลัยออกเงินสมทบอีก 500,000 บาท รวมเป็นค่าก่อสร้าง 2,900,000 บาท (สองล้านเก้าแสนบาทถ้วน) เพื่อใช้เป็นอาคารช่างไฟฟ้ากำลัง และช่างอิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้างแล้วเสร็จในปีการศึกษา 2527 แผนกได้ย้ายไปเรียนที่ตึกสร้างใหม่แล้ว

          ปีการศึกษา 2527 วิทยาลัยมีอัตรากำลังทั้งหมด 74 อัตรา และยังมีอัตราว่างอีก 8 อัตรา วิทยาลัยยังต้องพัฒนาทั้งอาคารเรียน

- สถานที่ บุคลากรเพื่อที่จะเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีความสามารถ เป็นกำลังของชาติสืบไป

          - กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตร  ปวส. 2527

          ปีการศึกษา 2529 วิทยาลัยได้งบประมาณการก่อสร้างบ้านพักครู 5 ยูนิต จำนวน 1 หลังรวมเป็นเงิน 500,000 บาท

          ปีการศึกษา 2530

          -  วิทยาลัยมีอัตรากำลังทั้งหมด 82 อัตรา

          - วิทยาลัยได้รับอนุมัติจากกรมฯ ให้เปิดทำการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์อีก 1 ห้อง มีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน 42 คน

          -  กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตร ปวช. 2530

          -  แบบ กช. 301 ก่อสร้างอาคารโรงฝึกงานแผนกช่างเชื่อมและโลหะแผ่น จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 1,800,000 บาท ห้างหุ้นส่วนจำกัดวิศวกรรมเป็นผู้ดำเนินงานก่อสร้าง ส่ง 11 พฤษภาคม 2530

- ก่อสร้างโรงฝึกงานแผนกช่างเทคนิคพื้นฐาน ด้วยเงินงบประมาณหมวดค่าวัสดุ

-  ต่อเติมห้องเรียนอาคารเรียน 2 ชั้น 4 เป็นห้องเรียนชั่วคราว หลังคากระเบื้องโครงเหล็ก ใช้เป็นห้องปฏิบัติการภาษาอังกฤษ 1 ห้อง และห้องปฏิบัติการเขียนแบบ 1 ห้อง โดยใช้เงินงบประมาณหมวดค่าวัสดุ 300,000 บาท

          -  ก่อสร้างอาคารเทิดพระเกียรติในโอกาสฉลองครบรอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดยใช้เงินงบประมาณหมวดค่าวัสดุ และเงินบกศ. ของวิทยาลัย เป็นเงิน 350,000 บาท

          ปีการศึกษา 2531

          -  วิทยาลัยมีอัตรากำลังทั้งหมด 87 อัตรา

          -  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น จำนวน 9 ห้องเรียน ตามแบบ กช. 906 เป็นเงิน 2,790,000 บาท

          -  ได้งบประมาณปรับปรุงสนามฟุตบอล เป็นเงิน 210,000 บาท

          ปีการศึกษา 2532

          -  ได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น ขนาด 9 x 54 เมตร แบบ กช. 008 ค่าก่อสร้าง 6,300,000 บาท เป็นเงินงบประมาณ 5,000,000 บาท และใช้เงิน บกศ.สมทบอีก 1,300,000 บาท  (ผูกพันงบประมาณปี 2532-2533) โดยปลูกสร้างแทนอาคารไม้หลังเดิม เนื่องจากการเก็บเงินบำรุงการศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงได้รับความอนุเคราะห์จากวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี (ผู้อำนวยการประกอบ จันทรเพ็ญ)  ให้ยืมเงินบำรุงการศึกษาสมทบเป็นเงิน 500,000 บาท

-  รื้ออาคารไม้ 2 ชั้น หลังเดิมนำไปปลูกเป็นแฟลตบ้านพักครู 13 หน่วย ก่อสร้างโดย นักเรียน นักศึกษา แผนกช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อม ปลูกบริเวณหลังช่างอิเล็กทรอนิกส์

          -  ได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษา โดยกองวิทยาลัยเทคนิค ให้เปิดสอนช่างฝึกหัดอาชีวเทคนิคเพื่อพัฒนาชนบท (เทคโนโลยีหมู่บ้าน) โดยรับผู้สำเร็จ ม.3 หรือ เทียบเท่าที่อยู่ห่างไกลหมู่บ้านเป็น เป้าหมาย (กชช-2 ค) เข้ามาเรียนเป็นนักเรียนตามหลักสูตรเทคโนโลยีหมู่บ้าน จำนวน 8 คน อายุ 15-20 ปี เรียน 4 วิชา ได้แก่ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า ช่างยนต์ และช่างเชื่อม ใช้เวลาเรียน 1 ปีการศึกษา โดยได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนเดือนละ 300 บาท(ปีละ 3,600 บาท) และค่าชุดฝึกงาน คนละ 2 ชุด 700 บาท เริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 1/2532

          -  ได้รับอนุมัติจากกรมอาชีวศึกษา ให้เปิดสอนแผนกเครื่องประดับอัญมณีขึ้น ซึ่งเป็นหลักสูตรระยะสั้น รับนักศึกษารุ่นแรก ในภาคเรียนที่ 2/2532 จำนวน 16 คน เป็นชาย 14 คน หญิง 2 คน สถานที่เรียนใช้อาคารชั่วคราวข้างห้องสมุด และพื้นที่ชั้นบนของแผนกเทคนิคพื้นฐาน เป็นที่เรียนเป็นการ ชั่วคราว จนกว่าจะได้ก่อสร้างอาคารเรียนเอกเทศในปีงบประมาณ 2534 ซึ่งกลุ่มได้จัดสรรงบประมาณให้แล้ว จำนวน 1.5 ล้านบาท ครูผู้สอนประกอบด้วย นายสุพจน์    รัตนเกษตรสิน (หัวหน้าแผนก) และ นายสมบูรณ์  แซ่หว่อง (หัวหน้าคณะวิชา) ทั้งสองได้ผ่านการฝึกอบรมจากวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี และวิทยาลัยเทคนิคตราด

          ปีการศึกษา 2533

          - ได้รับงบประมาณการก่อสร้างโรงอาหาร และหอประชุม พื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,600 ตารางเมตร             ตามแบบ อ.001 เป็นเงิน 7,031,595 บาท เป็นเงินงบประมาณปี 2533 จำนวน 2,500,000 บาท ผูกพันงบประมาณปี 2534 จำนวน 4,470,000 บาท (ซึ่งได้รับการแปรญัตติปี 34) เงินบำรุงการศึกษาสมทบ 61,595 บาท

          - ทำการรื้อถอนอาคารไม้ 3 หลัง เป็นอาคารจั่วทรงฟันเลื่อย อีกหลังหนึ่งเป็นอาคารไม้จั่ว 2 ชั้น เพื่อทำการก่อสร้างโรงอาหารและหอประชุม ตามที่ได้รับงบประมาณดังกล่าว

ปีการศึกษา 2534

          - ได้รับงบประมาณสร้างอาคารอัญมณี 2,460,000 บาท - ได้รับงบประมาณครุภัณฑ์ 2,807,000 บาท

          ปีการศึกษา 2535

          - มีอัตรากำลัง 80 อัตรา

          - ได้รับงบประมาณสร้างอาคารปฏิบัติการแผนกช่างไฟฟ้า จำนวน 6,912,000 บาท

          - ได้รับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ ดังนี้

แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์                       1,316,000   บาท

แผนกช่างไฟฟ้ากำลัง                            300,000   บาท

แผนกช่างกลโรงงาน                              930,000   บาท

          ปีการศึกษา 2536 ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอนในระดับ ปวส. 4 สาขาวิชา ดังนี้

      • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

      • สาขาวิชาช่างยนต์

      • สาขาวิชาเทคนิคการผลิต

      • สาขาวิชาเทคนิคโลหะ

ระดับ ปวท. 1 สาขาวิชา

      • สาขาเทคนิควิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษาได้รับรางวัลพระราชทานสถานศึกษาเขตการศึกษา 10 วิทยาลัย ได้รับรางวัลดังนี้

      1. รางวัลสถานศึกษาพระราชทาน   รางวัลสถานศึกษาดีเด่น ของกรมอาชีวศึกษา

          ปีการศึกษา 2537 ได้รับรางวัลการจัดกิจกรรมองค์การ (อชท.) ดีเด่น ได้มาตรฐานอันดับ1 ของกลุ่มอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับโล่เกียรติยศ และได้เปิดสอนหลักสูตร และระดับการศึกษาเหมือนปีการศึกษา 2536

          ปีการศึกษา 2538  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดทำการสอน หลักสูตรช่างอุตสาหกรรม ระดับ ปวช. 6 สาขาวิชา (ช่างก่อสร้าง, ช่างเชื่อมโลหะ, ช่างกลโรงงาน, ช่างยนต์, ช่างไฟฟ้ากำลัง, ช่างอิเล็กทรอนิกส์) และเปิดสอนระดับ ปวส. 9 สาขา (เทคนิคยานยนต์, แม่พิมพ์โลหะ, เครื่องมือกล, เทคนิควิศวกรรมการเชื่อม, เครื่องกลไฟฟ้าติดตั้งและควบคุมไฟฟ้า, เทคนิคระบบสื่อสาร, เทคนิคคอมพิวเตอร์, ก่อสร้าง) ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ได้เปิดสอน 1 สาขา คือ เทคนิควิศวกรรมคอมพิวเตอร์

          ปีการศึกษา 2539 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดทำการสอนในหลักสูตร และระดับการศึกษาเหมือนปีการศึกษา 2538 และเนื่องจากในปีการศึกษา 2539 กระทรวงศึกษาธิการได้นำนโยบายปฏิรูปการศึกษาและบัญญัติ 10 ประการมาใช้ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จึงมีแผนงานและโครงการที่สนองแนวนโยบาย ดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนโดยมีคุณภาพงานทุก ๆ ด้าน

          วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ดำเนินการสอนระดับ ปวช. หลักสูตรทวิภาคี (ร่วมกับภาคเอกชนจัดการศึกษา) ให้กว้างขวางขึ้นจากที่เคยจัดเฉพาะสาขาวิชาชีพช่างยนต์(ปีการศึกษา2538)ให้แพร่หลายออกไป

          ปีการศึกษา 2540

          วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรับนักศึกษาที่จบจาก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เพื่อศึกษาต่อในสาขาดังนี้

        1. สาขางานเทคนิคสถาปัตยกรรม

        2. สาขางานเทคนิคคอมพิวเตอร์

วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ดังนี้

- ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างระบบระบายน้ำ ร่องระบายน้ำ เป็นเงิน 800,000 บาท

- ได้รับงบประมาณหมวดครุภัณฑ์  เป็นเงิน 16,971,840  บาท

          ปีการศึกษา 2541  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ดังนี้

      • ได้รับงบประมาณในการปรับปรุงระบบประปาภายในวิทยาลัย เป็นเงิน 1,900,000 บาท

      • ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ เป็นเงิน 3,030,000 บาท

          ปีการศึกษา 2542 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรับนักศึกษาที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขางาน ดังนี้

      1. สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า                       สาขางานเครื่องมือกล

ได้รับงบประมาณหมวดค่าครุภัณฑ์ เป็นเงิน 2,590,000 บาท

          ปีการศึกษา 2543  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดไม่รับนักศึกษาระดับ ปวช. แผนกวิชาช่างไฟฟ้า และได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โดยรับนักศึกษาที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) เพื่อเข้าศึกษาต่อในสาขางานเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ดังนี้

      • สาขางานติดตั้งและควบคุมไฟฟ้า

      • สาขางานเทคนิคยานยนต์

      • สาขางานเทคนิควิศวกรรมงานเชื่อม

          ปีการศึกษา 2544 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดทำการสอนในระดับ ปวช. เพิ่มอีก 1 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม รวมเป็น 7 แผนก แผนกวิชาละ 2 ห้องเรียน และเปิดรับนักศึกษาระบบทวิภาคี ในแผนกวิชาช่างกลโรงงานอีก 1 ห้องเรียน วิทยาลัย ฯ ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส.) ในสาขางานที่เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ดังนี้

      1. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป (ปวช.)

      2. สาขาเทคนิคก่อสร้าง (ม.6)

      3. สาขางานเครื่องกลอุตสาหกรรม (ม.6)

      4. สาขาวิชาช่างโยธา (ม.6)

          ปีการศึกษา 2545 กรมอาชีวศึกษา เริ่มใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2545 ส่วนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ยังคงใช้หลักสูตร 2540 วิทยาลัยฯ ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วดังนี้

      • สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง สาขางานเครื่องมือกล ระดับชั้น ปวช. (ระบบทวิภาคี)

      • แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับชั้น ปวส. สาขาวิชางานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

          ปีการศึกษา 2546 กรมอาชีวศึกษา อนุมัติให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ตามประกาศกรมอาชีวศึกษา ลงวันที่ 18 มีนาคม 2546 และวิทยาลัยฯ ได้เปิดสอนสาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์ ทวิภาคี เพิ่มอีก 1 สาขา

          ปีการศึกษา 2547 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดได้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  สาขาวิชาเทคโนโลยีมันสำปะหลัง

          ปีการศึกษา 2549 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้เปิดรับนักเรียนในสาขาคอมพิวเตอร์ ระดับ ปวช. เพิ่มอีก 1 สาขา

          ปีการศึกษา 2550  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้มีนโยบายการปฏิรูปการอาชีวศึกษา โดยเปิดโอกาสให้กับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) มีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อด้านวิชาชีพอย่างทั่วถึงวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ได้เปิดสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม สาขางานติดตั้งและบำรุงรักษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

          ปีการศึกษา 2551

          - ได้รับรางวัลสุดยอดคนพันธ์ อา ปี 3 (นายณัฐพล  รองพล) นักศึกษา ระดับชั้น ปวช.2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศกีฬาฟุตบอลเอ็มสปอร์ต-เทคนิคไทยแลนด์คัพ 2008 ระหว่างวันที่  8-12 กุมภาพันธ์ 2551 ณ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด

- ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนและประชาชน ประจำปี 2551 (Thailand PrimeMinister Cup 2008) รอบคัดเลือกตัวแทนระดับจังหวัด รุ่น อายุ 18 ปี

- ได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ประเภทกระทงสวยงาม ชนะเลิศอันดับที่ 1 ในงานวันลอยกระทง เส็งประทีป ประจำปี 2551 จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีโครงการ Fix It Center ให้สถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ  ออกบริการชุมชน วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ดได้รับผิดชอบ 1 ศูนย์  ณ องค์การบริหารส่วนตำบลขามเปี้ย อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

          ปีการศึกษา 2552 วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด เปิดรับนักเรียนในสาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรม ระดับปวช. เพิ่มอีก 1 สาขา

- ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดส้วมสาธารณะเครือข่ายโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ปี 2552

- ได้เป็นตัวแทนหน่วยมาตรฐานองค์การวิชาชีพ ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2552

- โครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center)

- โครงการอาชีวศึกษาสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิต (R’ จิตใส กายแกร่ง)

- โครงการร่วมด้วยช่วยประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลวันสงกรานต์

- โครงการมหกรรมอาชีพ 108 อาชีพ ร่วมกับจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานจัดหางานจังหวัดร้อยเอ็ด

- โครงการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) จำนวน 6 ศูนย์ ประกอบด้วย อบต.บึงงาม อ.จังหาร / อบต.ดงสิงห์ อ.จังหาร / เทศบาล ต.เชียงใหม่ อ.โพธิ์ชัย / อบต.เมืองทอง อ.เมือง และอบต.นาโพธิ์  อ.เมือง และ อบต.สะอาดสมบูรณ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด

- ชนะเลิศระดับภาค สาขาเทคโนโลยียานยนต์ ประเภทเยาวชน การแข่งขันฝีมือแรงงาน ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2552 ณ จังหวัดอุบลราชธานี

- โครงการต้นกล้าอาชีพ รุ่นที่ 1 จำนวน 37 คน 3 อาชีพ, รุ่นที่ 2 จำนวน 55 คน 4 อาชีพ, รุ่นที่ 3  จำนวน 18 คน 3 อาชีพ, รุ่นที่ 6 จำนวน 135 คน 7 อาชีพ , รุ่นที่ 7 จำนวน 175 คน 7 อาชีพ,  รุ่นที่ 8 สมัครไว้ จำนวน 163 คน 17 อาชีพ (ยังอยู่ระหว่างรองบประมาณ)

- ได้รับรางวัล The Winner สมรภูมิไอเดียร์ สิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ เครื่องจับเส้นกลางถนน โซเซเซนเซอร์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

- เครื่องตัดแก๊สอัตโนมัติ ที่พระเจ้าวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จทอดพระเนตร ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่อาชีวศึกษาระดับชาติ

- ชนะเลิศระดับภาค การประกวดมารยาทไทย การประชุมวิชาการองค์การวิชาชีพสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2552

          ปีการศึกษา 2553

- วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับอาชีวศึกษา ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่  ประจำปี 2553

- รางวัลชมเชยระดับชาติ รถฮอนด้าโมบาย SME (รถพ่วง)ข้างมอเตอร์ไซต์ ประเภทอาชีวศึกษา ปี 2553

- ชนะเลิศระดับชาติ สุดยอดคนพันธ์อา ในกิจกรรมโครงการสร้างสรรค์คนพันธ์อาปี 3

- ชนะเลิศระดับชาติ มวยไทยสมัครเล่น อาชีวศึกษาดาวรุ่งมุ่งสู่ทีมชาติ

- ชนะเลิศระดับภาค ฟุตบอลชาย ชนะเลิศระดับภาค มวยสากลสมัครเล่นและชนะเลิศระดับภาค มวยไทยสมัครเล่น ในกีฬาอาชีวะเกมส์ ครั้งที่ 7 ณ จังหวัดสกลนคร ปี 2553

- ชนะเลิศระดับภาค การประกวดมารยาทไทย การประชุมวิชาการองค์การวิชาชีพสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2553

- ชนะเลิศระดับภาค การแข่งขันทักษะวิชาชีพ ประเภททักษะซอฟแวร์ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ระดับสถานบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2553 ณ วิทยาลัยเทคนิคยโสธร

          ปีการศึกษา 2554

- ได้รับโล่รางวัลหน่วยมาตรฐานองค์การวิชาชีพ (สถานศึกษาขนาดใหญ่) ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2554 ณ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

- รองชนะเลิศระดับจังหวัด Dia Sil presentation Mio 125 Campus Tour 2011 ประจำปี 2554

- รางวัลเหรียญทองผลงานกระดานอินเตอร์เน็ต แอคทีฟไวท์บอร์ด ราคาประหยัด ระดับ ปวส. ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ อาชีวศึกษา – เอสโซ่ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2554 ณ วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

- รางวัลชมเชย ลำดับที่ 1 เรือบังคับวิทยุ ทีมข้าวหอมมะลิ ในการแข่งขันมหกรรมยานยนต์ (R – Racing) ในงานมหกรรม “อาชีวะมหัศจรรย์สวนศิลป์แผ่นดินแม่” ประจำปีการศึกษา 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร

- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตร และรางวัล VEC industril arm robot AWARDS 2012 หุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม ทีม RTC 01 การแข่งขันหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม ระดับชาติ ณ ห้างสรรพสินค้า แอมโปรมอล จัหวัดพระนครศรีอยุธยา

-  วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการสถานศึกษาดีเด่นด้านคุณธรรมจริยธรรมจากธนาคารออมสิน ประจำปี 2554

          ปีการศึกษา 2554

- รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรมระดับประเทศ โครงการประกวดโรงเรียนและนักเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมและจริยธรรม เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 14 มกราคม 2555 จากธนาคารออมสิน

- รับรางวัชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขันหุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม ในงานมหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษาระดับชาติ

- รับรางวัล VEC INDUSTRIAL ARM ROBOT  AWARD 2012 ในงานมหกรรมหุ่นยนต์อาชีวศึกษาระดับชาติ  2555 วันที่ 3 เมษายน 2555 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันทักษะวิชาชีพ สาขางานมาตรวิทยามิติ งานมหกรรมอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 22 ปีการศึกษา 2555 ระหว่างวันที่ 11-14 ธันวาคม 2555 ณ จังหวัดนครราชสีมา

- นายวิชญะ น้อยมาลา นักศึกษาระดับชั้น ปวส. 2 แผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ ได้เป็นตัวแทน อาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมการแข่งขันการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2555  ณ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

- นางสาวรัชนุช  ภูชมศรี นักเรียนระดับชั้น ปวช. 3 แผนกวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม ได้เป็น  ตัวแทนอาชีวศึกษา            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมการแข่งขันการประกวดร้องเพลงไทยสากล ในการประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพ ในอนาคตแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2555 ณ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร

- รับรางวัลเหรียญเงินจากผลงานสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ต่อพ่วงรถวิลแชร์ไฟฟ้า จากการ ประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่และการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวศึกษา ระดับภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2555 ระหว่างวันที่ 10-14 ธันวาคม 2555 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

- รับรางวัลเหรียญเงิน ผลงานสิ่งประดิษฐ์ รถสามล้อไฟฟ้าเพื่อผู้พิการ จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่และการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนการอาชีวศึกษา ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2555 ระหว่างวันที่ 10-14 ธันวาคม 2555 ณ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

          ปีการศึกษา 2556

- ได้รับรางวัลสถานศึกษาที่จัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ระดับ 5 ดาว

- ผลการประเมินโครงการศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาแบบครบวงจร ระดับ 4 ดาว

          ปีการศึกษา 2557

- รางวัลประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา เฉลิมพระเกียรติ ระดับชาติ ประจำปีการศึกษา 2557 “ปั๊มน้ำประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยท่อเพิ่มแรงดันระบบอัดอากาศ”

          ปีการศึกษา 2558

- รางวัล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป ของจังหวัดร้อยเอ็ด รางวัลชนะเลิศ กระทงประทีปขนาดใหญ่ ประเภท ก.

- โครงการสิ่งประดิษฐ์ ที่เข้าร่วมแข่งขันในโครงการการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีการศึกษา 2558 ชนะเลิศ และได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับภาค จำนวน 7 ผลงาน

- รางวัลชนะเลิศ ประกวดมารยาทไทย ประจำปีการศึกษา 2558 ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด และได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันในระดับภาค

          ปีการศึกษา 2559

- รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประเภทที่ 4 ด้านการอนุรักษ์พลังงานด้านการผลิตไฟฟ้า ระดับจังหวัด

- รับรางวับชนะเลิศการแข่งขันมารยาทไทย ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง “ห้องสมุดศตวรรษ” การแข่งขันสุดยอดฝีมืออาชีวะไทย ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายเกียรติศักดิ์  สารบรรณ, นายเฉลิมชัย เอกมาตร์ และนายศุภกิจ ตระกูลโต

- นายณัฐพงษ์  สายรัตน์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันทักษะวิชาชีพ สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล ทักษะเทคนิคยานยนต์ การแข่ งขันทักษะวิชาชีพ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

- รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ชื่อผลงาน มวยไทยสมัครเล่น รุ่นแบนตั้มเวท 54 กก. ระดับชาติด

- รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ชื่อผลงาน มวยไทยสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท 47 กก.ระดับชาติ

- รับรางวัลรองชนะเลิศ อับดับ 1 ชื่อผลงาน รถประหยัดเชื้อเพลิง ประเภทรถตลาด ระดับชาติ

- ได้รับรางวัลชนะเลิศ ชื่อผลงาน เซปัคตะกร้อ ทีมหญิง ระดับชาติ

          ปีการศึกษา 2561

- นายวิโรจน์ บานเย็น หุ่นยนต์กู้ภัย รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายกัมพล ชินไชย์ หุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายธารางกูร ลาภเย็น ออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายณัฐนนท์ ศรีทนนาง นวัตกรรมซอฟแวร์และระบบสองกลฝังตัว รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายธีรศักดิ์ สุระพันธุ์ สิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษธรรมชาติ รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นางสาวพิมพิชา นนพิภักดิ์ สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟท์แวร์และสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายณัฐนนท์ ศรีทนนาง สิ่งประดิษฐ์ด้านวัตกรรมซอฟท์แวร์และสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายนพสรณ์ จิตร์แสวง สิ่งประดิษฐ์ด้านวัตกรรมซอฟท์แวร์และสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายอนุกูร จำปาวงค์ สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟท์แวร์และสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นางสาววิไลวรรณ แพงชารี สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟท์แวร์และสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นางสาวธัญจิรา อนุนิวัติ์ สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟท์แวร์และสมองกลฝังตัว รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

          ปีการศึกษา 2562

- นาวสาวสิริญญา ลีพัฒนะ เครื่องผลิตไฟฟ้า CSC รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค อาชีวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

- นายภัทรนิษฐ์ วงศ์เสนา  เครื่องผลิตไฟฟ้า CSC รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค อาชีวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

- นายศุภากร จิตรสิริพจน์ เครื่องผลิตไฟฟ้า CSC รางวัลชนะเลิศ  ระดับ ภาค อาชีวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

- นางสาวสุวภัทร หนันคำจร เครื่องผลิตไฟฟ้า CSC รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค อาชัวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

- นายศีรีชญย์ ไชยฮัง  อุปกรณ์บรรเทามลพิษฝุ่น PM2.5 รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นางสาวกัลยารัตน์ วรรณศิริ อุปกรณ์บรรเทามลพิษฝุ่น PM2.5 รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นางสาวพัทธ์ธีรา สิทธิโภชน์ อุปกรณ์บรรเทามลพิษฝุ่น PM2.5 รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นางสาว อาทิตยา สาวิสัย อุปกรณ์บรรเทามลพิษฝุ่น PM2.5 รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายธีรพงษ์ พินทอง ทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ PLU รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายศิรวิทย์ ไชยอั่ง ทักษะการเขียนโปรแกรมควมคุมโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ PLUรางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายอนุชิต ศรีสาวแห ทักษะการติดตั้งไฟฟ้าและควบคุมไฟฟ้า รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายอัศวิน หาญชนะ ทักษะการติดตั้งไฟฟ้าและควบคุมไฟฟ้า รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายธนพล มยุโรวาส หุ่นยนต์กู้ภัยอาชีวศึกษา (Rescue Robat) รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

- นายสราวุฒิ ชารีวัน หุ่นยนต์กู้ภัยอาชีวศึก (Rescue Robat) รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 - นายบุญญฤทธิ์ บัวสิงห์ หุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรม รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายเกษมชาติ อ่ำนาเพียง หุ่นยนต์แขนกลอุตสาหกรรมอาชีวศึกษา รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายเกียรติศักดิ์ เสนปอภาร การประกวดมารยาทไทย รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นางสาวพรชิตา เสนาฤทธิ์ การประกวดมารยาทไทย รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ชาติ อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายสุรวิชญ์ บุญโกศล สาขางานคอนกรีต รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

- นายผดุงพล คล่องแคล่ว สาขางานคอนกรีต รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษา

- นายชานนท์ ชาบุหลัน สาขางานคอนกรีต รางวัลชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

- นายไตรภพ จันทร์รักษา  สาขางานปูน รางวัลชนะเลิศ  ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายอรุณ อามาตย์มนตรี สาขางานปูน รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายอัษฎาวุธ ศรีสว่าง สาขางานปูน รางวัลชนะเลิศ ระดับ จังหวัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

- นายปฏิพิทธ์ พุทธมอญ การแข่งขันทักษะไมโครคอนโทรลเลอร์ รางวัลรองชนะเลิศ ระดับ ภาค สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา