แผนกวิชาช่างเมคคาทรอนิกส์

ตราสัญลักษณ์แผนกวิชาเมคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

ปรัชญา/คำขวัญ (Philosophy)

ทักษะดี ฝีมือเด่น เน้นคุณธรรม นำเทคโนโลยี

วิสัยทัศน์ (Vision)

แผนกวิชาช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อสร้างบุคคลแห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาชีพเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ให้เกิดการพัฒนาในทุกด้านและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและชุมชน

พันธกิจ (Mission)

1. ผลิตนักศึกษาให้มีความรู้และทักษะทางด้านวิชาชีพ และคุณภาพมาตรฐานวิชาชีพ
2. จัดการเรียนรู้ให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้านวิชาชีพ ให้มีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของสถานประกอบการและชุมชน
4. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดทำโครงงาน สิ่งประดิษฐ์ และวิจัยในชั้นเรียน

ครูผู้สอน

Teacher

นายอนุชิต สิงห์จันทร์
ครู อันดับ คศ.2
หัวหน้าแผนกวิชา
ครูที่ปรึกษาระดับชั้น ปวส.2 กลุ่ม 5

นางสาวธัญญรัตน์  จันทร์ห้างหว้า
ครูผู้ช่วย
ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกวิชา
ครูที่ปรึกษาระดับชั้น ปวช.

นายธัชพล  วรรณาการ
ครูอัตราจ้าง

นายสุชาติ  หอมบุญ
ครูผู้ช่วย

นายพงศ์ราม  พรมเกตุ
ครูอัตราจ้าง
ปกครองแผนกวิชา
ครูที่ปรึกษาระดับชั้น ปวช.1 กลุ่ม 1-2

นายนฤเบศ มุงอินทร์
ครูอัตราจ้าง

นางสาวกาญจนา  วรรณญาติ
ครูอัตราจ้าง
ธุรการ/สวัสดิการแผนกวิชา
ครูที่ปรึกษาระดับชั้น ปวช.2 กลุ่ม 1

นายปฐมพงษ์  ภูโอบ
ครูอัตราจ้าง

นายทัตพงศ์  ขันตี
ครูอัตราจ้าง

นางสาวภัทราภรณ์  โพธิจันทร์
ครูอัตราจ้าง
ประจำแผนกวิชา
ครูที่ปรึกษาระดับชั้น ปวช.

แนวทางการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพ

Guidelines for further study and career

แนวทางการศึกษาต่อ

- ปวช. / ปวส. สาขาช่างเมคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
- ปริญญาตรี สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และสาขาที่เกี่ยวข้อง
- สามารถเรียนต่อระดับปริญญาโทและเอก ในสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ

เมคคาทรอนิกส์จะปฎิบัติงานในลักษณะ วิจัย ออกแบบ ปรับปรุง ติดตั้ง และใช้งาน เครื่องมือ อุปกรณ์ ของเครื่องจักรที่อยู่ในสายการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม ที่เครื่องจักรทํางานโดยใช้ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ โรงงานผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเลคทรอนิกส์ ตลอดจนโรงงานที่มีเครื่องจักรที่ทํางานได้เองแบบอัตโนมัติ ซึ่งจําเป็นต้องใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาในการออกแบบหรือปรับปรุง ระบบควบคุม กลไก รวมถึงการใช้งานเครื่องมือวัดและเทคนิคการวัด ให้เครื่องจักรสามารถผลิตงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการประกอบอาชีพจะได้แก่
- ผู้ออกแบบ นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือระบบอัตโนมัติให้กับสินค้าเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ
- วิศวกรควบคุมการใช้และดูแลรักษาเทคโนโลยีในระบบอัตโนมัติที่ใช้ในโรงงานและอาคารพานิชยกรรม
- วิศวกรและนักเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
- สามารถทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ระบบและเครื่องจักรกลอัตโนมัติเพื่อการผลิต หรือประกอบเช่น ยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ